วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ภาวะการตลาด

ตลาดปลาดุก

     1. ตลาดกลางที่เป็นแหล่งซื้อขายปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ได้แก่ ตลาดบางปะกง ฉะเชิงเทรา ตลาดรังสิต ปทุมธานี ตลาดลาดกระบัง กรุงเทพฯ และสะพานปลากรุงเทพฯ จากการศึกษาวิถีการตลาดปลาในภาคอีสานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าปลาน้ำจืด (ปลาดุก ปลาช่อน และปลาหมอเทศ) ซึ่งขนส่งในลักษณะแช่น้ำไว้ระหว่างการขนส่งและวางขายในตลาดนั้นจะผ่านมือผู้ รวบรวมจากภาคกลางแล้วส่งให้พ่อค้าขายส่งมือ1, 2 จนกระทั่งถึงพ่อค้าขายปลีก

     2. การบริโภคภายในประเทศ จากผลผลิตปลาดุกเฉลี่ยในปี 2530 จำนวน 13,900 ตัน ถ้าจำนวนประชากรมีประมาณ 52 ล้านคน ก็จะบริโภคปลาดุกเฉลี่ย 0.27 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี เท่านั้น แต่จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นพบว่า ในภาคอีสานบริโภคปลาน้ำจืดเฉลี่ย 21.3 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี ในจำนวนนี้เป็นปลาช่อน 7 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี ปลาดุก 3.6 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี ปลาหมอ 1.8 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี นอกนั้นเป็นปลานิล ตะเพียน และปลาอื่นๆ ปริมาณปลาดุกที่บริโภค 3.6 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี นั้น ร้อยละ 18.6 ได้จากการซื้อมา ดังนั้น คนอีสาน 1 คน ซื้อปลาดุกบริโภคเฉลี่ย 0.67 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี ซึ่งสูงกว่าปริมาณเฉลี่ยทั้งประเทศ

     3. ราคา จากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เกี่ยวกับราคาสัตว์น้ำที่ชาวประมงขายได้ พบว่า การเพิ่มขึ้นของราคาปลาน้ำจืด โดยเฉพาะปลาช่อนและปลาดุกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 5.85 และ 5.05 ตามลำดับ ซึ่งอัตราการเพิ่มสูงขึ้นของราคาปลาน้ำจืดนี้มีแนวโน้มสูงมากกว่าสัตว์น้ำ จากทะเล


     การตลาด พิจารณาฟาร์มเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของสัตว์น้ำจืดสำคัญๆ เปรียบเทียบกันจะเห็นว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาปลาน้ำจืดนี้มีแนวโน้มสูง มากกว่าสัตว์น้ำจากทะเล

     การตลาด พิจารณาฟาร์มเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของสัตว์น้ำจืดสำคัญๆ เปรียบเทียบกันจะเห็นว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาฟาร์มของปลาดุกสูงขึ้นถึง ร้อยละ 25.63 ซึ่งสูงมากที่สุด ส่วนปลาช่อนนั้นอัตราเพิ่มขึ้นของราคาเพียงร้อยละ 3.6 เท่านั้น ส่วนราคากุ้งก้ามกรามนั้นลดลงร้อยละ 9.01 จากปี 2529

    สำหรับราคาฟาร์มเฉลี่ยในแต่ละภาคนั้น จะเห็นว่าราคาฟาร์มในภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือนั้นสูงมากกว่าภาคกลาง และภาคตะวันตกและภาคตะวันออก ถ้าเป็นรายจังหวัดแล้วจะเห็นว่าราคาฟาร์มในจังหวัดสตูลและสงขลานั้นสูงสุด กล่าวคือ ราคาปลาดุก ณ ฟาร์มสูงถึงกิโลกรัมละ 40 บาท ซึ่งแสดงว่าปริมาณผลิตนั้นมีผลกระทบกับราคาฟาร์ม กล่าวคือ ในภาคกลาง และภาคตะวันตก ซึ่งมีการกระจุกตัวกันของแหล่งผลิตมาก ทำให้ราคาฟาร์มเฉลี่ยนั้นต่ำกว่าภาคอื่นๆ ซึ่งมีการกระจายตัว

ของแหล่งผลิตมากกว่า

กราเลี้ยงปลาดุก

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ เป็น วิธีการเลี้ยงปลาอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเลี้ยงกันได้ง่าย และสำหรับสถานที่ก็ใช้พื้นที่ไม่เยอะ และสามารถเคลื่อนย้ายท่อปูนซีเมนต์ได้ง่ายด้วย ค่าลงทุนในการการเลี้ยงก็ไม่มากสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ ส่วนผลตอบแทนก็เป็นที่น่าภูมิใจ จากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ร่วมด้วย ช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.สงขลา ได้พบกับคุณชาลี สุวรรณชาตรี อยู่บ้านเลข ที่ 319 ม.18 ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เกษตรกรผู้ที่เลี้ยงปลาดุกในท่อ ปูนซีเมนต์ ได้บอกถึงวิธีการเลี้ยงปลาดุกด้วยระบบชีวภาพซึ่งมีขั้นตอนการ เลี้ยงดังนี้


การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมอุปกรณ์
1.ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 100*50 เซนติเมตร
2.ท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ว ยาว 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น และยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น
3.ข้องอพีวีซีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน
4.ยางนอกรถสิบล้อจำนวน 1 เส้น
5.ยางนอกรถจักรยานยนต์จำนวน 1 เส้น
6.ตาข่าย
7.น้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
8.ปูน ทราย หิน
9.อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก
10.พืชผักที่ปลากิน เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ฯลฯ
11.ลูกปลาดุก 70-80 ตัว

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลาดุก
1.จะ ต้องทำการฆ่ากรดฆ่าด่างในบ่อปูน โดยให้นำหัวกล้วยหรือโคนกล้วยมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำมูลวัวมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำใส่ไปในบ่อใส่น้ำให้เต็ม แล้วหมักไว้ 5 วัน จากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งแล้วเอาโคนกล้วยออกทิ้งด้วย

2.นำน้ำสะอาดใส่ไปในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากนั้นก็ให้เปิดน้ำทิ้ง

3.นำผักบุ้งมาถูให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ตากบ่อให้แห้ง




การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
1.ถังพลาสติกที่มีฝาปิดจำนวน 1 ถัง
2.น้ำตาลทรายแดง 3 กิโลกรัม
3.ฟักทองแก่ 3 กิโลกรัม
4.มะละกอสุก 3 กิโลกรัม
5.กล้วยน้ำหว้าสุก 3 กิโลกรัม

วิธีทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
หั่น มะละกอ, กล้วยน้ำหว้า, ฟักทองทั้งเปลือกและเมล็ดใส่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด ผสมน้ำตาลทรายแดง แล้วคนให้เข้ากันและปิดฝาให้แน่นหมักทิ้งไว้ 7 วัน แล้วเติมน้ำสะอาด 9 ลิตร ปิดฝาให้แน่นแล้วหมักต่ออีก 15 วัน
ประโยชน์
-เป็นฮอร์โมนพืช เร่งดอก เร่งผล รสชาติหวานอร่อย
-ปลาไม่เป็นโรค
-ปลาไม่มีกลิ่นสาบ
-ปลาไม่มีมันในท้อง
-ปลาจะมีเนื้อหวานรสชาติอร่อย

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยง
1.นำ ท่อปูนที่มีรอยคราบผักบุ้ง หรือบ่อปูนที่ไม่มีกรดไม่มีด่าง ใส่น้ำให้มีความสูง 10 เซนติเมตร (ช่วงปลาขนาดเล็ก เพิ่งนำมาปล่อย) แล้วเติมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ
2.นำปลาดุกมาแช่น้ำในบ่อปูนทั้งถุง แล้วค่อยๆเปิดปากถุงให้ปลาว่ายออกมาเอง



3.วันแรกที่นำปลามาปล่อยไม่ต้องให้กินอาหาร
4.นำพืชผักที่ปลากิน เช่นผักบุ้ง ผักตบชวาและอื่นๆมาใส่ในบ่อ
5.การ ให้อาหาร ปลา 1 ตัวให้อาหาร 5 เม็ด/เมื้อ ในช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้า-เย็น ปลาอายุ 1 เดือนครึ่งให้อาหารปลาขนาดกลาง โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น

หมายเหตุ ก่อนให้อาหารต้องนำอาหารมาแช่น้ำก่อนเสมอประมาณ 10-15 นาที
เหตุผลเพื่อ

1.ปลาจะได้กินอาหารทุกตัว
2.ปลาตัวที่แข็งแรงจะทำให้ท้องไม่อืด
3.ปลาไม่ป่วย
4.การเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน
5.อาหารไม่เหลือในบ่อและน้ำก็ไม่เสีย
6.ถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน หรือ 10 วัน/ครั้ง ทุกครั้งที่ถ่ายน้ำจะต้องใส่น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะเสมอ

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การจำหน่าย
1.ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี
2.ปลาดุก 3 เดือนครึ่ง จำนวน 70 ตัว จะมีน้ำหนัก 14-15 กิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 ตัว/กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท
3.ต้น ทุนอาหารกิโลกรัมละ 19-20 บาท หมายเหตุ ต้นทุนครั้งแรก 1 ชุด 430 บาท น้ำที่ถ่ายทิ้งจากบ่อปลาสามารถนำมารดต้นไม้ พืชผักสวนครัว เป็นปุ๋ยอย่างดี