วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลาดุดในบ่อดิน

การผสมเทียมปลาดุกอุย

การเตรียมบ่อ

การให้อาหารปลาดุกอุย

การเลี้ยงปลาดุกอุย

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อาหารปลาดุกอุย

การเลี้ยงปลาดุก  สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน  บ่อซีเมนต์และในกระชัง  แต่ส่วนมากนิยมเลี้ยงในบ่อดิน  ซึ่งขนาดบ่อดินที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เกิน  1  ไร่
การเลือกสถานที่
ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลา  มีดังนี้
          1. 
สถานที่ไม่เป็นที่ลุ่มหรือที่ดอนเกินไป  สามารถจัดระบบน้ำระบายน้ำเข้า-ออกได้ดี

          2. 
สภาพดินควรเป็นดินเหนียวสามารถทำเป็นคันบ่อเก็บกักน้ำได้ดี
          3. 
สภาพน้ำต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารพิษของโลหะหนักหรือยาฆ่าแมลง หรือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
          4. 
ทางคมนาคมสะดวก
การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา
มีวิธีการเตรียมบ่อดังนี้
1. 
บ่อใหม่ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา  60-100  กิโลกรัม/ไร่  โดยให้ทั่วพื้นบ่อ
-  ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา  200  กิโลกรัม/ไร่  โดยโรยให้ทั่วบ่อ
-  เติมน้ำให้ได้ระดับ  40-50  เซนติเมตร  ทิ้งไว้  3-5  วัน  จนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา
        
2.  บ่อเก่า             ทำความสะอาดบ่อลอกเลนให้มากที่สุด             
ใส่ปูนขาวอัตรา
60-100  กิโลกรัม/ไร่             ตากบ่อให้แห้ง  ประมาณ  7-15  วัน            
นำปุ๋ยคอกใส่ถุงแขวนไว้ตามมุมบ่อประมาณ
  60-100  กิโลกรัม/ไร่  เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ             
เติมน้ำ  40-50  เซนติเมตร  ทิ้งไว้  3-5 วัน  จนน้ำเป็นสีเขียว 
      
ก่อนปล่อยปลาควรตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำอีกครั้ง  ถ้าไม่ถึง  7.5-8.5  ควรน้ำปูนขาวละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง  ให้ได้  7.5-8.5

การเตรียมพันธ์ปลา
การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ  ดังนี้
          1. 
แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก  ควรดูจาก
              - 
ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพ
              - 
มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์  เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ
              - 
มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา
          2. 
ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์  ซึ่งสังเกตจาก
         
    -  การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว  ไม่ว่ายควงสว่าน  หรือลอยตัวตั้งฉากพื้นบ่อ
              -  ลำตัวสมบูรณ์  หนวด  หาง  ครีบ  ไม่กร่อน  ไม่มีบาดแผล  ไม่มีจุดหรือปุยขาวเกาะ
              -  ขนาดลูกปลาต้องเสมอกัน
การปล่อยลูกปลาบ่อเลี้ยง

           
   เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ  10-15  นาที  เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค  ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
อัตราการปล่อย

              
เกษตรกรรายใหม่  ควรปล่อยลูกปลาขนาดปลานิ้ว  จะทำให้อัตราการรอดสูง  อัตราการปล่อย  ปลาขนาด 2-3  เซนติเมตร  ปล่อย  80,000-100,000  ตัว/ไร่  ก่อนปล่อยควรสุ่มนับจำนวนเพื่อตรวจสอบให้รู้จำนวนจริง
อาหารและการให้อาหาร
               ต้นทุนการผลิตปลาประมาณ
  80%  เป็นค่าอาหาร  เพราะฉะนั้นการเลี้ยงใช้อาหารเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
การเลือกซื้ออาหาร

ลักษณะของอาหาร

          - 
สีสันดี
         
กลิ่นดี  ไม่เหม็นหืน
          -  ขนาดเม็ดสม่ำเสมอ  ไม่เป็นฝุ่น
          -  การลอยตัวของอาหารในน้ำอยู่ได้นาน
          -  อาหารไม่เปียกชื้น  ไม่จับตัวเป็นก้อน  ไม่ขึ้นรา
ประเภทของอาหารสำเร็จรูป
      
   
อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน  ใช้สำหรับลูกปลาขนาด  1 – 4  เซนติเมตร
          -  อาหารปลาดุกเล็กพิเศษ  ใช้สำหรับลูกปลาขนาด  3  เซนติเมตร – 1  เดือน
          -  อาหารปลาดุกเล็ก  ใช้สำหรับปลาอายุ  1-3  เดือน
          -  อาหารปลาดุกใหญ่  ใช้สำหรับปลาอายุ  3  เดือน  -  ส่งตลาด
วิธีการให้อาหารปลา
               เมื่อปล่อยลูกปลาวันแรกไม่ต้องให้อาหาร  จะเริ่มให้อาหารวันถัดไป  อาหารที่ให้เป็นอาหารลูกปลาวัยอ่อน  พรมน้ำ แล้วนวดจนเหนียวปั้นเป็นก้อนแล้วเสียบกับไม้ปักไว้รอบบ่อปริมาณที่ให้ต้องให้ปลากินหมด  ภายในเวลา  30-60  นาที  โดยให้อาหารประมาณ  1  สัปดาห์      หลังจากนั้นอาจจะให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษแช่น้ำให้นิ้มแล้วปั่นรวมกับอาหารลูกปลาวัยอ่อนให้ปลากิน    เมื่อปลาโตพอกินอาหารเม็ดได้ก็เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษอย่างเดียวหว่านให้กินกระจายทั่วบ่อ  ปริมาณที่ให้กะหมดภายใน  30  นาที  ให้กินจนลูกปลาอายุ  1  เดือน   ให้อาหารปลาดุกเล็กโดยให้ในแต่ละมื้อควรให้ปลากินหมดภายใน  30  นาที ช่วงนี้ควรเริ่มฝึกให้ปลากินอาหารเป็นที่   โดยให้อาหารจุดเดิมประจำปละเคาะหลักไม้ทุกครั้งเมื่อมีการให้อาหาร การให้อาหารปลาจะให้  2  มื้อ  ต่อวันให้อาหารปลาดุกเล็กจนลูกปลามีอายุ  2  เดือน  ให้อาหารปลาดุกใหญ่  ปริมาณที่ให้แต่ละมื้อจะต้องให้ปลากินหมดภายใน  30  นาที่  โดยให้อาหาร  2  มื้อ   ในกรณีปลาป่วย  หรือกินอาหารลดลงให้ลดปริมาณอาหารลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ให้ปกติ  ในกรณีเกิดจากสภาพน้ำ  หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศให้ปรับสภาพน้ำโดยทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ  หรือใส่เกลือ  หรือปูนขาว   ถ้าพบว่าปลาที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้ผสมปฏิชีวนะ  3-5  กรัมต่ออาหาร  1  กิโลกรัม  ให้กินติดต่อกัน  7  วัน  เช่น  อาออกชีเตตร้าซัยคลิน    ถ้าเกิดจากพยาธิภายนอกให้รักษาตามลักษณะของพยาธินั้น ๆ  เช่นถ้าพบปลิงใส  เห็บระฆัง  เกาะจำนวนมาก  หรือเริ่มทยอยตายให้ใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น  30-40  ซีซี/น้ำ  1,000  ลิตร  ฉีดพ่นหรือสาดลงในบ่อแช่ทิ้งตลอด



การเลี้ยงปลาดุก

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ภาวะการตลาด

ตลาดปลาดุก

     1. ตลาดกลางที่เป็นแหล่งซื้อขายปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ได้แก่ ตลาดบางปะกง ฉะเชิงเทรา ตลาดรังสิต ปทุมธานี ตลาดลาดกระบัง กรุงเทพฯ และสะพานปลากรุงเทพฯ จากการศึกษาวิถีการตลาดปลาในภาคอีสานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าปลาน้ำจืด (ปลาดุก ปลาช่อน และปลาหมอเทศ) ซึ่งขนส่งในลักษณะแช่น้ำไว้ระหว่างการขนส่งและวางขายในตลาดนั้นจะผ่านมือผู้ รวบรวมจากภาคกลางแล้วส่งให้พ่อค้าขายส่งมือ1, 2 จนกระทั่งถึงพ่อค้าขายปลีก

     2. การบริโภคภายในประเทศ จากผลผลิตปลาดุกเฉลี่ยในปี 2530 จำนวน 13,900 ตัน ถ้าจำนวนประชากรมีประมาณ 52 ล้านคน ก็จะบริโภคปลาดุกเฉลี่ย 0.27 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี เท่านั้น แต่จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นพบว่า ในภาคอีสานบริโภคปลาน้ำจืดเฉลี่ย 21.3 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี ในจำนวนนี้เป็นปลาช่อน 7 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี ปลาดุก 3.6 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี ปลาหมอ 1.8 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี นอกนั้นเป็นปลานิล ตะเพียน และปลาอื่นๆ ปริมาณปลาดุกที่บริโภค 3.6 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี นั้น ร้อยละ 18.6 ได้จากการซื้อมา ดังนั้น คนอีสาน 1 คน ซื้อปลาดุกบริโภคเฉลี่ย 0.67 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี ซึ่งสูงกว่าปริมาณเฉลี่ยทั้งประเทศ

     3. ราคา จากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เกี่ยวกับราคาสัตว์น้ำที่ชาวประมงขายได้ พบว่า การเพิ่มขึ้นของราคาปลาน้ำจืด โดยเฉพาะปลาช่อนและปลาดุกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 5.85 และ 5.05 ตามลำดับ ซึ่งอัตราการเพิ่มสูงขึ้นของราคาปลาน้ำจืดนี้มีแนวโน้มสูงมากกว่าสัตว์น้ำ จากทะเล


     การตลาด พิจารณาฟาร์มเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของสัตว์น้ำจืดสำคัญๆ เปรียบเทียบกันจะเห็นว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาปลาน้ำจืดนี้มีแนวโน้มสูง มากกว่าสัตว์น้ำจากทะเล

     การตลาด พิจารณาฟาร์มเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของสัตว์น้ำจืดสำคัญๆ เปรียบเทียบกันจะเห็นว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาฟาร์มของปลาดุกสูงขึ้นถึง ร้อยละ 25.63 ซึ่งสูงมากที่สุด ส่วนปลาช่อนนั้นอัตราเพิ่มขึ้นของราคาเพียงร้อยละ 3.6 เท่านั้น ส่วนราคากุ้งก้ามกรามนั้นลดลงร้อยละ 9.01 จากปี 2529

    สำหรับราคาฟาร์มเฉลี่ยในแต่ละภาคนั้น จะเห็นว่าราคาฟาร์มในภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือนั้นสูงมากกว่าภาคกลาง และภาคตะวันตกและภาคตะวันออก ถ้าเป็นรายจังหวัดแล้วจะเห็นว่าราคาฟาร์มในจังหวัดสตูลและสงขลานั้นสูงสุด กล่าวคือ ราคาปลาดุก ณ ฟาร์มสูงถึงกิโลกรัมละ 40 บาท ซึ่งแสดงว่าปริมาณผลิตนั้นมีผลกระทบกับราคาฟาร์ม กล่าวคือ ในภาคกลาง และภาคตะวันตก ซึ่งมีการกระจุกตัวกันของแหล่งผลิตมาก ทำให้ราคาฟาร์มเฉลี่ยนั้นต่ำกว่าภาคอื่นๆ ซึ่งมีการกระจายตัว

ของแหล่งผลิตมากกว่า

กราเลี้ยงปลาดุก

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ เป็น วิธีการเลี้ยงปลาอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเลี้ยงกันได้ง่าย และสำหรับสถานที่ก็ใช้พื้นที่ไม่เยอะ และสามารถเคลื่อนย้ายท่อปูนซีเมนต์ได้ง่ายด้วย ค่าลงทุนในการการเลี้ยงก็ไม่มากสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ ส่วนผลตอบแทนก็เป็นที่น่าภูมิใจ จากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ร่วมด้วย ช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.สงขลา ได้พบกับคุณชาลี สุวรรณชาตรี อยู่บ้านเลข ที่ 319 ม.18 ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เกษตรกรผู้ที่เลี้ยงปลาดุกในท่อ ปูนซีเมนต์ ได้บอกถึงวิธีการเลี้ยงปลาดุกด้วยระบบชีวภาพซึ่งมีขั้นตอนการ เลี้ยงดังนี้


การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมอุปกรณ์
1.ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 100*50 เซนติเมตร
2.ท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ว ยาว 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น และยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น
3.ข้องอพีวีซีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน
4.ยางนอกรถสิบล้อจำนวน 1 เส้น
5.ยางนอกรถจักรยานยนต์จำนวน 1 เส้น
6.ตาข่าย
7.น้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
8.ปูน ทราย หิน
9.อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก
10.พืชผักที่ปลากิน เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ฯลฯ
11.ลูกปลาดุก 70-80 ตัว

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลาดุก
1.จะ ต้องทำการฆ่ากรดฆ่าด่างในบ่อปูน โดยให้นำหัวกล้วยหรือโคนกล้วยมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำมูลวัวมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำใส่ไปในบ่อใส่น้ำให้เต็ม แล้วหมักไว้ 5 วัน จากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งแล้วเอาโคนกล้วยออกทิ้งด้วย

2.นำน้ำสะอาดใส่ไปในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากนั้นก็ให้เปิดน้ำทิ้ง

3.นำผักบุ้งมาถูให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ตากบ่อให้แห้ง




การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
1.ถังพลาสติกที่มีฝาปิดจำนวน 1 ถัง
2.น้ำตาลทรายแดง 3 กิโลกรัม
3.ฟักทองแก่ 3 กิโลกรัม
4.มะละกอสุก 3 กิโลกรัม
5.กล้วยน้ำหว้าสุก 3 กิโลกรัม

วิธีทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
หั่น มะละกอ, กล้วยน้ำหว้า, ฟักทองทั้งเปลือกและเมล็ดใส่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด ผสมน้ำตาลทรายแดง แล้วคนให้เข้ากันและปิดฝาให้แน่นหมักทิ้งไว้ 7 วัน แล้วเติมน้ำสะอาด 9 ลิตร ปิดฝาให้แน่นแล้วหมักต่ออีก 15 วัน
ประโยชน์
-เป็นฮอร์โมนพืช เร่งดอก เร่งผล รสชาติหวานอร่อย
-ปลาไม่เป็นโรค
-ปลาไม่มีกลิ่นสาบ
-ปลาไม่มีมันในท้อง
-ปลาจะมีเนื้อหวานรสชาติอร่อย

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยง
1.นำ ท่อปูนที่มีรอยคราบผักบุ้ง หรือบ่อปูนที่ไม่มีกรดไม่มีด่าง ใส่น้ำให้มีความสูง 10 เซนติเมตร (ช่วงปลาขนาดเล็ก เพิ่งนำมาปล่อย) แล้วเติมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ
2.นำปลาดุกมาแช่น้ำในบ่อปูนทั้งถุง แล้วค่อยๆเปิดปากถุงให้ปลาว่ายออกมาเอง



3.วันแรกที่นำปลามาปล่อยไม่ต้องให้กินอาหาร
4.นำพืชผักที่ปลากิน เช่นผักบุ้ง ผักตบชวาและอื่นๆมาใส่ในบ่อ
5.การ ให้อาหาร ปลา 1 ตัวให้อาหาร 5 เม็ด/เมื้อ ในช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้า-เย็น ปลาอายุ 1 เดือนครึ่งให้อาหารปลาขนาดกลาง โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น

หมายเหตุ ก่อนให้อาหารต้องนำอาหารมาแช่น้ำก่อนเสมอประมาณ 10-15 นาที
เหตุผลเพื่อ

1.ปลาจะได้กินอาหารทุกตัว
2.ปลาตัวที่แข็งแรงจะทำให้ท้องไม่อืด
3.ปลาไม่ป่วย
4.การเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน
5.อาหารไม่เหลือในบ่อและน้ำก็ไม่เสีย
6.ถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน หรือ 10 วัน/ครั้ง ทุกครั้งที่ถ่ายน้ำจะต้องใส่น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะเสมอ

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การจำหน่าย
1.ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี
2.ปลาดุก 3 เดือนครึ่ง จำนวน 70 ตัว จะมีน้ำหนัก 14-15 กิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 ตัว/กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท
3.ต้น ทุนอาหารกิโลกรัมละ 19-20 บาท หมายเหตุ ต้นทุนครั้งแรก 1 ชุด 430 บาท น้ำที่ถ่ายทิ้งจากบ่อปลาสามารถนำมารดต้นไม้ พืชผักสวนครัว เป็นปุ๋ยอย่างดี